ค ําน ํา ภาษาไพธอน (Python Language) เป็นภาษาที่ถูกออกแบบและพัฒนามาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้ได้ง่าย รวดเร็ว กระทัดรัด และมีประสิทธิภาพสูง โดยการน าเอาคุณลักษณะเด่นๆ ของภาษาอื่นๆ มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อยอด เช่น ภาษา C, C++, Java, Perl, ABC, Modula-3, Icon, Matlab, ANSI C, Lisp, Smalltalk และ Tcl เป็นต้น ไพธอนจึงถูกเรียกว่าเป็นภาษาที่มีหลายกระบวนทัศน์ หรือ หลายมุมมอง (multi-paradigm languages) ซึ่งเกิดจากการผสมผสานรวมเอาแนวความคิดในการ พัฒนาซอฟต์แวร์แบบต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันให้อยู่ในตัวของไพธอน คือ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-oriented programming), การเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง (Structured programming), การ โปรแกรมเชิงฟังชัน (Functional programming) และการเขียนโปรแกรมเชิงลักษณะ (Aspect-oriented programming) ภาษาไพธอนเป็นภาษาที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดจากนักพัฒนาโปรแกรมทั่วโลก ส่งผลให้ภาษา ดังกล่าวมีความสามารถสูงและรองรับงานด้านต่างๆ ได้มากมายอาทิเช่น งานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ระบบฐานข้อมูล เกมส์และแอพพลิเคชัน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เว็บแอพพลิเคชัน และ นิยมใช้ส าหรับประกอบการเรียนการสอนในต่างประเทศตั้งแต่ระดับมัธยมถึงมหาวิทยาลัย เห็นได้จากมี หน่วยงานส าคัญๆ ของโลกน าเอาภาษาไพธอนไปพัฒนางานของตนมากมาย เช่น นาซ่า (NASA), กูเกิล (Google), หน่วยงานของสหรัฐ (USA Central Intelligence Agency :CIA), IBM และอื่นๆ ส าหรับ ประเทศไทยก าลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล เกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ และพระจอม เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นต้น หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะอย่างยิ่งส าหรับเป็นพื้นฐานส าหรับผู้ที่ ต้องการเริ่มต้นเรียนรู้ในการเขียนโปรแกรมไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญที่ต้องการน าไปประยุกต์ใช้เข้ากับงาน ของตนเอง หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือไพธอนที่ดีที่สุด ดังนั้นถ้ามีข้อผิดพลาดประการใดเกิดขึ้น ผู้เขียน ขอน้อมรับไว้ทั้งหมด ผเู้ขยีนขอสงวนลขิสทิธใิ์นหนงัสอืเล่มน้ีเพ่อืใชเ้ป็นวิทยาทานเท่านั้น ห้ามผู้ใด จ าหน่าย พิมพ์ เพื่อขาย ให้ดาวน์โหลดโดยคิดค่าบริการ หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ทั้งสิ้น แต่อนุญาตให้แจกจ่ายได้ ท้ายนี้ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ตามสมควร หากมี ข้อแนะน ากรุณาแจ้งให้ผู้เขียนได้ทราบ เพื่อจะได้น าไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป จึงขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ผศ.สุชาติ คุ้มมะณี Email:
[email protected] พิมพ์เผยแพร่เมื่อ 14 ตุลาคม 2558 แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15 ตุลาคม 2558
แนะน ําเกี่ยวกับหนังสือ จดุ เด่นของหนังสือเล่มนี้? หนังสือ “เชี่ยวชําญกํารเขียนโปรแกรมด้วยภําษําไพธอน (Programming expert with Python)” ที่ท่านถืออยู่นี้ ถูกเรียบเรียงขึ้นมาเพื่อตอบสนองกับผู้ที่ต้องการเขียนโปรแกรมส าหรับ แก้ปัญหาต่างๆ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์โดยหนังสือเล่มดังกล่าวนี้เน้นการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาไพ ธอน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าเป็นภาษาที่สามารถเรียนรู้ได้ง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการ ท างานสูง ไม่แพ้ภาษาระดับสูงอื่นๆ เช่น ภาษา C/C++ จาวา (Java) เพิร์ล (Perl) พีเอชพี (PHP) และ วิชวลเบสิค เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันภาษาไพธอนก าลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (จากผลการ ส ารวจของ CodeEval.com ในปี 2014 พบว่ามีผู้เขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพธอนสูงที่สุดถึง 30.3% รองลงมาคือ Java 22.2%, C++ เท่ากับ 13%, Ruby 10.6%, JavaScript 5.2%, C# 5%, C 4.1%, PHP 3.3% ตามล าดับ) เห็นได้จากหน่วยงานที่มีชื่อเสียงระดับโลกน าไพธอนไปพัฒนาระบบงานของตนอย่าง กว้างขวาง เช่น กูเกิล นาซ่า เป็นต้น ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป ส าหรับจุดเด่นของหนังสือเล่มนี้อยู่ ตรงที่ ผู้เขียนได้อธิบํายกํารเขียนโปรแกรมไพธอนเป็ นลกัษณะทีละขนั้ ตํามลํา ดบั (Step by Step) เริ่มตงั้แต่กํารเขียนโปรแกรมอย่ํางง่ํายๆ ไปจนถึงกํารเขียนโปรแกรมขั้นสูง โดยมีภําพและ โปรแกรมตวัอย่ํางประกอบคํา อธิบําย ให้ผ้อู่ํานสํามํารถเข้ําใจได้อย่ํางกว้ํางขวําง (เน้นตวัอย่ําง ในมุมมองที่หลํากหลําย) เนื้อหําครอบคลุมกํารใช้งํานมํากที่สุดจนถึงเวอร์ชันปัจจุบัน (เดือน มีนําคม 2557 คือเวอร์ชัน 3.4) รวมถึงเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ครอบคลุมในทุกๆ สายอาชีพ เช่น นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักพัฒนาโปรแกรม งาน ฐานข้อมูล เว็บแอพพลิเคชัน ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และนักพัฒนาโปรแกรมระบบเครือข่าย เป็นต้น ใครบ้ํางที่สมควรอ่ํานหนังสือนี้เล่มนี้? หนังสือเล่มนี้ได้ท าการก าหนดโครงสร้างของหนังสือออกเป็น 5 ภาค ประกอบไปด้วย ภําคที่ 1 เป็นการแนะน าถึงการท างานของระบบคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และความสัมพันธ์กัน อย่างใกล้ชิดระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ที่ถูกใช้ส าหรับควบคุม และสั่งงานให้ระบบคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์สามารถท างานได้ตรงตามเป้าหมาย และตรงความต้องการ ภําคที่ 2 เป็นการอธิบายถึงพื้นฐานการพัฒนาโปรแกรม เช่น การเข้าใจชนิดของตัวแปรต่างๆ การก าหนดค่าตัวแปร ค าสั่งการประมวลผลทางคณิตศาสตร์โครงสร้างข้อมูล เงื่อนไข การท าซ ้า ฟังชัน การจัดการข้อผิดพลาด อินพุด-เอาท์พุด การจัดการแฟ้มข้อมูล การตรวจสอบและค้นหาความผิดปกติ ของโปรแกรม และการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ เป็นต้น